วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

อาหาร ไก่เด็ด

อาหารไก่พื้นบ้านปกติแล้วการเลี้ยงไก่พื้นบ้านมักจะปล่อยให้ไก่หาอาหารกินเองตามมีตามเกิด หรือตามธรรมชาติ โดยที่ผู้เลี้ยงอาจมีการให้อาหารเพิ่มเติมบ้างในช่วงตอนเช้า หรือตอนเย็นอาหารที่ให้ก็เป็นพวกข้าวเปลือก ปลายข้าว หรือข้าวโพด เป็นต้น จากสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ทำให้ความสมบูรณ์ของไก่ผันแปรไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ คือ ในช่วงฤดูฝน ไก่จะมีอาหารค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากได้รับทั้งเมล็ดวัชพืชและหนอนแมลงในปริมาณมาก ซึ่งอาหารทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งของไวตามินและโปรตีนที่สำคัญ ตามธรรมชาติ ทำให้ไก่ในฤดูกาลนี้มีการเจริญเติบโตและความแข็งแรงมากกว่าไก่ในฤดูอื่น ๆ ส่วนในฤดูเก็บเกี่ยว และนวดข้าว ไก่ก็มีโอกาสที่จะได้รับเศษอาหารที่ตกหล่นมาก ทำให้ไก่มีสภาพร่างกายอ้วนท้วนสมบูณ์พอสมควร ส่วนในฤดูแล้งมักจะประสพปัญหาไก่ขาดแคลนอาหารตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องน้ำซึ่งมักจะขาดอยู่เสมอ จำเป็นต้องเตรียมไว้ให้ไก่ด้วย
 หลักในการให้อาหารไก่พื้นบ้านมีดังต่อไปนี้
1. ควรซื้อหัวอาหารเพื่อเอามาผสมกับอาหารที่ผู้เลี้ยงมีอยู่เช่น ผสมกับปลายข้าว หรือรำเป็นต้น อาหารผสมนี้ใช้เลี้ยงไก่โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่เล็ก จะทำให้ไก่ที่เลี้ยงโตเร็วและแข็งแรง
2. การใช้เศษอาหารมาเลี้ยงไก่ควรคำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อไก่ด้วย
3. ถ้าเป็นไปได้ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารที่ให้ไก่กินจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเปลือกไข่บางและปัญหาการจิกกินไข่ของแม่ไก่
4. ควรนำหญ้าขนหรือพืชตระกูลถั่วบางชนิดเช่น ถั่วฮามาต้า ใบกระถิน หรือเศษใบพืชต่าง ๆ เช่น ใบปอ ใบมัน เป็นต้น นำมาสับให้ไก่กินจะทำให้ไก่ได้รับไวตามินและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น
5. การใช้แสงไฟล่อแมลงในตอนกลางคืน นำแมลงนั้นมาเป็นอาหารไก่จะทำให้ไก่ได้อาหารโปรตีนอีกทางหนึ่งนอกจากนี้ยังเป็นการช่วยทำลายแมลงศัตรูพืชอีกด้วย
6. ควรมีภาชนะสำหรับใส่อาหารและน้ำโดยเฉพาะ โดยทำจากวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ เช่นยางรถยนต์ หรือไม้ไผ่ ภาชนะสำหรับให้น้ำและอาหารควรวางให้สูงระดับเดียวกับหลังของตัวไก่และใส่อาหารเพียง 1 ใน 3 ก็พอเพื่อให้หกเรี่ยราด สำหรับน้ำนั้นควรใช้น้ำที่สะอาดให้ไก่ดื่มกินตลอดเวลา ส่วนอาหารอาจจะให้เฉพาะตอนเช้า และเย็นเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นให้ไก่หาอาหารกินเอง
7.  สำหรับอาหารลูกไก่ ควรเป็นอาหารที่ละเอียด ย่อยง่าย และให้ทีละน้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการย่อยอาหารของลูกไก่ต้องทำงานหนักเกินไป
8.ในช่วงการให้ไข่และฟักไข่ของแม่ไก่ ควรมีอาหารเสริมเป็นพิเศษสำหรับแม่ไก่ซึ่งจะช่วยให้แม่ไก่แข็งแรงไม่ทรุดโทรมเร็ว และไม่ต้องไปหากินไกล ๆ
9. ในระยะการกกลูกไก่ในคอกนั้น จำเป็นต้องซื้ออาหารสูตรผสม (อาหารไก่เล็ก) ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมาให้ลูกไก่กิน การให้อาหารพวกปลายข้าว
10. ข้าวเปลือกหรือรำ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้รวมกันจะไม่ได้ผล เพราะจะทำให้ลูกไก่แคระแกรน ไม่แข็งแรง และตายในที่สุด
11. ดังนั้นจึงควรหาซื้ออาหารสูตรผสมที่มีโปรตีนเมื่อพ้นระยะการกกแล้ว
12. ในช่วงเวลากลางวันก็สามารถปล่อยให้ไก่ออกหาอาหารตามธรรมชาติบ้าง ในช่วงก่อนค่ำก็ไล่ไก่เข้าคอกและควรให้อาหารสูตรสำเร็จเสริมให้ไก่ หรือจะให้เศษอาหารที่เหลือ หรือพวกปลายข้าว รำข้าว ก็ได้
13.ในกรณีที่เลี้ยงไก่จำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือแหล่งอาหารตามธรรมชาติว่ามีเพียงพอต่อจำนวนไก่หรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอก็ควรซื้ออาหารสูตรผสมให้กินเสริมด้วย มิเช่นนั้นจะพบว่าไก่ที่เลี้ยงจะผอม ไม่แข้งแรง และมักแสดงอาหารป่วยจนถึงตายในที่สุด นอกจากการใช้สูตรอาหารสำเร็จมาใช้เลี้ยงไก่แล้ว ยังมีอาหารอีกรูปแบบหนึ่งที่มีจำหน่ายอยู่ในรูปเข้มข้น หรือเรียกกันว่าหัวอาหาร ซึ่งสามารถซื้อนำมาผสมกับวัตถุดิบ

ในท้องถิ่นได้ เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด หรือมันสำปะหลังตากแห้ง เป็นต้น การผสมมักจะคำนึงถึงสูตรอาหารที่จะใช้ว่าจะเลี้ยงในระยะลูกไก่หรือไก่รุ่น เมื่อทราบอายุไก่ที่เลี้ยงแล้วก็นำหัวอาหาร และวัตถุดิบที่มีอยู่มาผสมกันตามสัดส่วนที่คำนวณไว้ดังตัวอย่างเช่น ถ้าหัวอาหารประกอบด้วยโปรตีน 42 เปอร์เซ็นต์ จะนำมาผสมกับปลายข้าวที่ประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำเป็นสูตรอาหารให้ได้โปรตีน 19 เปอร์เซ็นต์
เพื่อใช้เลี้ยงลูกไก่ การผสมแบบนี้สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ ดังนี้
ขั้นตอนการคำนวณ คือ

1. หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของหัวอาหารกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้อง การผสมในกรณีนี้คือ 42-19 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 23
2. หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของปลายข้าวกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้องการผสม คือ 19-8 ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 11
3.จากข้อ 1 และข้อ 2 
สรุปผลได้ดังนี้คือ ถ้าเรานำหัวอาหาร จำนวน 11 ส่วน มาผสมกับปลายข้าว จำนวน 23 ส่วน เราก็สามารถผสมสูตรอาหารไก่ที่ประกอบด้วยโปรตีน ประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์ได้

แหล่งที่มา : ไก่ชนดอทคอม
ภาพประกอบ : จากอินเตอร์เน็ต

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

ออกชน ทนสุดเจ๋ง...

การเลี้ยงไก่ถ่าย (ไก่ที่ถ่ายสุดสร้อย สุดปีก สุดหาง จึงจะถือว่าไก่สมบูรณ์แล้ว)
การเลี้ยงไก่ถ่าย หรือไก่ที่เปลี่ยนขนตั้งแต่หนึ่งครั้งขึ้นไป มีขั้นตอนการเลี้ยงและฝึกซ้อมดังนี้

1. จะต้องจับไก่มาอาบน้ำทั้งตัว โดยใช้ยาสระผมที่ผสมครีมอาบน้ำ สระขนให้สะอาด 2 ครั้ง แล้วนำไปกราด แดดให้ขนแห้งเอง ไม่ต้องไปเช็คขน
2. นำไก่ไปถ่ายพยาธิในกระเพาะอาหาร ลำไส้ ให้หมดอาจจะให้กินยาฆ่าพยาธิเลยก็ได้
3. นำไก่ไปออกกำลัง วิ่งสุ่ม โยนเบาะ ใช้ไก่ล่อ จากน้อยไปหามาก
4. กราดน้ำแล้วนำไปกราดแดดให้หอบจากนั้นเอาเข้าร่มยอนคอเอาเสลดออกให้หมด พอหายหอบจึงค่อยให้กินน้ำ กินข้าว
5. ปฏิบัติตามข้อที่ 3-4 ประมาณครึ่งเดือน เมื่อเห็นว่าไก่มีกำลังดี มีความอดทนต่อการหอบได้ดีแล้ว ให้ลงนวม ซ้อมดู (ใส่นวมเดือย พันแข้ง ใส่ตระกร้อปาก) ปล้ำประมาณ 20 นาที
6. เมื่อลงนวมลองปล้ำแล้วเห็นว่าใช้ได้ ให้ลงขมิ้นผสมปูนแดงที่ขนตัว ยกเว้นขนปีกและขนหาง
7. เมื่อกราดน้ำ กราดแดด วิ่งสุ่ม ลงนวมประมาณ 1 เดือน ให้ซ้อมปล้ำดูโดยสวมนวมเดือยแต่ปล่อยแข้งปล่อยปาก ประมาณ 20 นาที
8. ให้สวมนวมเดือยใส่ตระกร้อปากพันแข้งบางๆปล้ำ 3 อันเพื่อออกกำลังและฝึกชั้นเชิง โดยการหาคู่ต่อสู้ที่เสีย เปรียบ เช่น เตี้ยกว่า เล็กกว่า เชิงด้อยกว่า มาเป็นคู่ซ้อมแล้วค่อยๆขยับคู่ซ้อมให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ
9. ซ้อมปล้ำใส่นวมเดือยทุกๆ10-15วัน/ครั้ง คือ ถ้าปล้ำเจ็บน้อยก็10วัน/ครั้ง ถ้าเจ็บมากก็15วัน/ครั้ง การซ้อม แต่ละครั้งไก่ต้องแผลหายสนิทก่อนจึงจะซ้อมได้
10. เมื่อซ้อมได้10-12อัน เห็นว่าไก่สมบูรณ์ดีแล้วพอที่จะออกชนได้ ให้ยาลุ1ครั้ง แล้วตั้งเวลากำหนดออกชนไว้ก่อน 21 วัน ฝึกซ้อมไก่ตามตารางที่กำหนดไว้ก่อนออกชนจริง

แหล่งที่มา : ไก่ชนไทยดอทเน็ต
ขอขอบคุณ : ภาพจากอินเตอร์เน็ต