มือน้ำสำคัญไฉน
คำว่ามือน้ำ หมายถึงคนที่ให้น้ำไก่ในเวลาชนกัน และเรียกกันในเฉพาะบ่อนไก่ การให้น้ำไก่นั้นจะมีความละเอีอ่อนมาก ต้องใช้ความชำนาญในการให้น้ำและเทคนิกต่างๆมากมาย จากประสบการณ์ที่ผ่านมาไก่ทุกตัวถ้ามีการชนกันเมื่อไร ถ้าไม่มีการให้น้ำก่อนหรือหลังชนส่วนมากจะตายทั้งสองฝ่าย คือ ร้อนจนตับแตกตาย ก็ลองสังเกตดูเวลาที่ไก่ลักตีกันทั้งวันโดยที่ไม่มีใครเห็นเลยปรากฎว่าตายทั้งคู่ แต่ถ้าเราเห็นเสียก่อนรีบจับมาให้น้ำทั้งสองตัวไก่ก็จะไม่ตาย มือน้ำจึงเป็นอย่างยิ่งที่จะทำอย่างไรก็ได้ที่จะช่วยเหลือไก่ให้หายเหนื่อยโดยเร็ว ช่วยให้หายปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกายให้เป็นปกติเท่าที่จะทำได้ มือน้ำที่จะช่วยเหลือไก่ให้คืนสภาพเดิมได้ต้องมีความชำนาญ มีประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญจริงๆ และก็สามารถทำได้ทุกอย่างโดยไม่รังเกียจ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับไก่ เช่นเวลาไขหัวไก่แล้วจะใช้ปากดูดหัวไก่เอาเลือดออก ใช้ปากเป่าจมูกเอาเสลดออกจากจมูก
และลำคอเป็นต้น มือน้ำต้องทำโดยเร็วและต้องแข่งกับเวลาที่ทางบ่อนกำหนดให้ด้วย มือน้ำต้องให้น้ำมือเบาๆ ตามลักษณะความบอบช้ำของไก่ที่กำลังชนกัน แม้แต่การลงกระเบื้องก็เช่นเดียวกันมือน้ำต้องทำด้วยความรอบคอบ อย่าให้กระเบื้องร้อนจัดจนเกินไป การที่กระเบื้องร้อนจนเกินไปนั้น จะทำให้ไก่ตึงตามส่วนต่างๆของร่างกายเนื้อหนังจะสุกเพราะความร้อน ก็จะทำให้ไก่ไม่ยอมตีในยกต่อไป ถ้ามือน้ำให้น้ำไก่ไม่ดีจริงๆ อาจทำให้ไก่ไม่ตีไก่ก็เป็นได้ ถ้าไก่ไม่ตีไก่ 1 ยกเต็มๆโอกาสก็จะเป็นรองเขาตลอดไป เพราะถูกตี 1 ยกเต็มๆ ความบอบช้ำก็จะสะสมอยู่มาก กว่าจะแก้ไขได้ก็อาจเป็นรองเขาไปหลายขุมเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นมือน้ำเท่านั้นที่จะเป็นผู้ที่จะช่วยเหลือให้ไก่คืนสู่สภาพเดิมได้ หรือช่วยให้ดีกว่าเดิมบ้าง ไม่ใช่พอให้น้ำเสร็จเรียบร้อยปรากฎว่าไก่แย่กว่าเดิม แต่ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับสภาพของไก่ด้วยเหมือนกัน มือน้ำจะเป็นผู้ที่รู้ดีในสภาพไก่ที่กำลังให้น้ำอยู่จะช่วยได้มากน้อยแค่ไหนมือน้ำจะเป็นผู้บอกได้เอง
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มือน้ำบางคนปิดทองหลังพระ บางคนอาภัพ อย่างเช่นมีคนมาจ้างให้น้ำไก่ในระหว่างที่ไก่กำลังชนกันในยกที่ 2-3 มือน้ำคนที่ให้น้ำอยู่ไม่สามารถช่วยได้ ไก่ก็แย่เต็มทีแล้ว พอเปลี่ยนมือน้ำใหม่ ปรากฎว่าไก่อาการดีขึ้นมาตีเขาได้บ้าง ทุกคนต่างก็นิยมชมชอบ และให้กำลังใจมือน้ำ แต่ถ้าบังเอิญมือน้ำใหม่เขาให้น้ำ พอชนในยกต่อไปอาการไม่ดีขึ้น หรือเกิดแพ้ขึ้นมา นี่แหละมือน้ำจะเป็นผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียว และก็จะถูกต่อว่าต่างๆนานา ฉะนั้นการให้น้ำไก่ควรให้ตั้งแต่ยกแรกจนถึงยกสุดท้ายไปเลย เราจะได้แก้สถานการณ์ แก้สภาพของไก่ได้ถูกต้องทันท่วงที เราจะรู้ได้เลยว่าจะแก้ตรงไหนบ้าง การให้น้ำต่อจากคนอื่นนั้น ให้ดีก็ว่าดี ถ้าให้ไม่ดีขึ้นมาบ้างก็จะเป็นผลเสียแก่เรา
คุณสมบัติของมือน้ำที่ดี
1. ต้องไม่เอาเปรียบคู่ต่อสู้(ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ)
2. ต้องมีความเชื่อมั่นในตัวของตัวเองเสมอ
3. ต้องมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์
4. ต้องมีจิตใจเป็นนักกีฬาอยู่เสมอ
5. ต้องควบคุมสติอารมณ์ของตัวเองให้ดี
6. ต้องมีการให้อภัยซึ่งกันและกัน
7. ต้องทำใจให้หนักแน่น เยือกเย็นอยู่เสมอ
8. ต้องมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่นบ้าง
9. ต้องทำใจให้เป็นกลางอยู่ตลอดเวลา
10. ต้องพยายามหาความรู้ หาประสบการณ์ที่แปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา
เพราะฉะนั้นการให้น้ำไก่ มือน้ำต้องยึดอุดมคติ และคุณสมบัติของมือน้ำที่ดีเอาไว้บ้าง เพื่อความถูกต้องของตัวเองและส่วนรวม ถ้ามือน้ำไม่ยึดถือคุณสมบัติของมือน้ำที่ดีแล้ว ความยุติธรรม และความถูกต้องในวงการไก่ชนก็จะไม่มีเลย
อุปกรณ์สำหรับมือน้ำ
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมขาดไม่ได้
1. ผ้าอาบน้ำไก่ 1-2 ผืน
2. กาต้มน้ำ หรือภาชนะอื่นก็ได้
3. เตา - ถ่าน
4. กระเบื้องดินสำหรับประคบ
5. เข็ม ด้ายเบอร์8 เบอร์20 เบอร์30 สำหรับถักปาก เย็บแผล ไขหัว ทวนหัวไก่ และถ่างตา
6. กรรไกร ใบมีด คีมจับเข็ม (สำหรับเย็บแผลในช่องปาก)
7. ขนไก่ (เอาขนหางพัด เพราะอ่อนนิ่มตรง) เหมาะสำหรับทวนค่อยๆ หรือยวนคอ หมุนเบาๆเอาเสลดออกจากคอไก่
8. ขนปีกไซ เป็นขนเส้นใหญ่ สำหรับทวนขาขณะปิดตอ (เดือย) เพื่อไม่ให้พลาสเตอร์ รัดขาเกินไป
9. เครื่องรมควันสมุนไพร เพื่อให้ไก่หายเคล็ดขัดยอกหรือคลายความเจ็บปวดลง เพิ่มความอบอุ่นให้กับไก่ไม่ให้เป็นตะคริว
10. โต๊ะนั่ง 2 โต๊ะ สำหรับมือน้ำและผู้ช่วยมือน้ำ
11. ผ้าหรือกระสอบปูพื้น
12. สมุนไพรตากแห้ง สำหรับรมควันให้ไก่ขณะพักยกให้น้ำ เช่น ใบตะไคร้ ใบเป้า ใบหนาด ขมิ้นแห้ง
13. ใบพลูสดและกระเบื้องประคบลำตัวไก่ ให้หายจากการขัดยอกเจ็บปวด
การให้น้ำไก่เบื้องต้น
ก่อนอื่นต้องเตรียมอุปกรณ์ให้ครบถ้วนเสียก่อน คือ
1. ผ้ามุ้งบางๆกว้าง 50 ซ.ม ยาว 50 ซ.ม หรือกว้าง ยาวกว่านี้ก็ได้
2. ถังน้ำใบเล็กๆ 1 ใบ
3. กาน้ำร้อน 1 ลูก สำหรับต้มน้ำตะไคร้
4. กระเบื้อง 1 แผ่น
5. เตาถ่านลูกเล็กๆ 1 ลูก
6. ถ่านหุงข้าว เพราะการใช้ถ่านจะทำให้การต้มน้ำ หรือเผากระเบื้อง ไม่เปลืองไฟเท่ากับใช้แก๊ส
ขั้นตอนต่อไป เตรียมไก่มาแล้วนำถุงพลาสติก 2 ใบและให้ใหญ่กว่าปีกไก่ด้วย ใส่ทั้ง 2 ข้าง เอาผ้าชุบน้ำบิดพอหมาดๆ อย่าให้ผ้าเปียกจนเกินไป เพราะจะทำให้บริเวณที่เรานั่งจะเปียก เช็ดตามขนคอก่อน แล้วตั้งแต่หัวลงมาถึงโคนคอพยายามให้เปียกทุกเส้นขน ให้เช็ดลงไปเรื่อยๆตั้งแต่โคนคอไปตามแผ่นหลังพอเปียกหมาดๆ ก็ลงไปที่หน้าอกทั้งสองข้าง การให้น้ำต้องพยายามนวดตามต้นขา คลึงตามต้นขาและข้อเข่าตามหน้าอก คลึงแผ่นหลังระหว่างโคนปีกทั้ง 2 ข้างที่คลึงบริเวณแผ่นหลังนั้นเพื่อต้องการให้เส้นเอ็นหย่อนยานไม่ตึง และทำให้เพื่อเคยชินกับการให้น้ำ พอเสร็จจากการกราดน้ำแล้วต่อมาก็ฝึกหัดลง
7.กระเบื้อง.
การลงกระเบื้องนั้น ถ้าเราไม่รู้วิธีการลง กระเบื้องเลยจะทำให้ไก่ร้อนเนื้อหนังจะพองหมด ส่วนมากจะพองตรงขั่วปีกด้านในหรือขอบอกด้านข้าง ต่อมาก็มาพิจารณาว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ส่วนต่างๆของไก่พองอีก ก็ลองเอาผ้านาบกระเบื้องแล้วรองมานาบหลังมือเพราะหลังมือเป็นส่วนที่บางที่สุด หรือลองนาบที่แก้มดู ถ้าร้อนไม่มากก็นาบตามร่างกายของไก่ได้ ไก่ก็จะไม่ร้อน ไม่พองต้องพยายามทำทุกวัน ความเคยชิน ความชำนาญ จะตามมาแต่พยายามทำมือเบาๆเข้าไว้และต้องทำให้เร็วด้วย เพราะการให้น้ำต้องแข่งกับเวลา ถ้าหากมีการชนกัน
แหล่งที่มา : ไก่ชนดอทคอม
ขอขอบคุณ : ภาพจากอินเตอร์เน็ต
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555
ไก่ชนผิดฟอร์มเกิดจากอะไร??
ไก่ที่ชนผิดฟอร์มนี่เกิดจากหลายสาเหตุลองพิจารณาดูสาเหตุเหล่านี้
1. ไก่ป่วยโดยเฉพาะพวกหวัด หรือป่วยกัมโบโร่ซึ่งเราจะสังเกตยาก บางตัวไก่แข็งแรงไม่แสดงอาการมาก แต่ก็ป่วยภายในกลายเป็นไก่ไม่มีแรงบินหล่น ชนทางยาวไม่ได้ ไม่อยากตีไก่ พวกนี้ต้องสังเกตให้ดีอาจจะพบอาการเหล่านี้ก็ให้สงสัยก่อนเลยว่าป่วยภายใน
2.ไก่เคยป่วยมาเช่นเป็นหวัด เป็นขี้เขียวขี้ขาว เป็นขี้ต๊อก ฯลฯ โรคต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ไก่ไม่สมบูรณ์ภายในไม่คึกไม่อยากตีไก่ บางตัตีอยู่ดี ๆ หนีเฉยเลยต้องระวังเพราะมันรู้ัวมันดีว่าสู้ไปก็เหนื่อยเปล่า ไก่สมบูรณ์จิตใจจะหึกเหิม
3. ไก่ถูกตีมาเจ็บหนัก พอฟื้นส่วนมากจะชนผิดฟอร์ม เพราะเราใช้ยามาเยอะ หรือเพราะไก่เจ็บใดหรือเดาะ เช่นเอาไก่หนุ่มไปชนไก่ถ่ายแบบนี้ชนะมาก็ป่วนในเลี้ยงไม่ขึ้น
4. ไก่เปลี่ยนสถานที่เลี้ยงหรือสถานที่นอนแบบนี้จะมีปัญหาว่าชนผิดฟอร์ม บางตัวไม่เอาอ่าวเลยกลายเป็นไก่ไม่เก่ง อย่างไก่สั่งมาจากทางเหนือมักจะพบว่าเอามาวันแรกปล้ำวางดูเก่งพอเลี้ยงไปเรื่อยความเก่งหายจ้อยแบบนี้ก็มี เรียกว่าไก่แพ้สถานที่หรือแพ้สิ่งแวดล้อมนั่นเอง
5. ไก่อ้วนหรือผอมเกินไปแบบนี้ก็ชนผิดฟอร์มได้ เวลาเลี้ยงต้องคุมน้ำหนักอย่าให้ขึ้นมาก ถ้าขี้นเป็นขีดอืดแน่ ๆ ต้องคอยให้ขึ้นนิดหน่อย แต่ไม่ใช่ลดนะคือไก่มันจะโตไปเรื่อยยกเว้นพวกขนสองต้องลด พวกขวบแรกมันจะโตไปเรื่อยเราต้องคอยคุมให้มันเพิ่มทีละนิด ชนครั้งนี้เพิ่ม 1-2 มม. ครั้งต่อไปก็เพิ่มนิดหน่อยประมาณนั้น ไก่จะแข็งแรงสมบูรณ์
6. ไก่เปลี่ยนวิธีเลี้ยงเช่นเคยเลี้ยงโดยออกกำลังกายมาก พาวิ่งอย่างเดียวแบบนี้แข็งแรง พอเปลี่ยนมือท่านมาเลี้ยงแบบวิ่งสุ่ม เตะนวม ล่อหมุนวนแบบนี้ไก่จะชนผิดฟอร์ม
ผู้เขียนเคยได้ไก่เก่งตัวหนึ่งสมัยก่อน นี่พูดแบบคนแก่นะ ซท้อเขามา หมื่นกว่าบาท ตอนอยู่บ้านนอกเขาเลี้ยงกลางทุ่งนาเด็กเลี้ยงควายพาวิ่งทุกเช้าเย็น ใครเหนื่อยก็เปลี่ยนกัน นี่เลี้ยงแบบชาวบ้าน พอเอามาชนมันแข็งแกร่งมากตีไม่เต็มอันจบ ไก่รอย 3.5 ว่องไวมาก พอซื้อมาเลี้ยงไปชนไฟท์แรกเลี้ยงแบบสไตล์เราไก่อืดเลยตีช้ามาก ชนะก็ช้า จึงเปลี่ยนวิธีเลี้ยงใหม่เป็นล่อวิ่งอย่างเดียวเอาตามแบบเดิมผลปรากฎว่ามันกับมาว่องไวเหมือนเดิม จนได้มาชนที่กลางดง 2 ครั้ง เมื่อสมัยปี 2534 นะครับ ซึ่งตอนนั้นสนามนี้ดังที่สุดในประเทศ....ดังนั้นการเปลี่ยนวิธีเลี้ยงไก่ก็จะชนผิดฟอร์ม
7. ไก่ถ่ายขนอันนี้ชนผิดฟอร์มแน่ ๆ อยากเห็นความเก่งตอนนี้คงไม่เห็นแ
แหล่งที่มา :http://www.oknation.net/blog/tongoou
วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555
การทำ สมุดประจำตัวไก่ชน
สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหน้า |
การจัดทำสมุดประจำตัว ไก่ชนของกรมปศุสัตว์นี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันโรค และเพื่อให้เกษตรกรได้มีความรู้ความ เข้าใจในการบันทึกประวัติไก่ ของตน เนื่องจากไก่ชนเป็นไก่ที่เลี้ยงไว้เพื่อการกีฬา จะมีการเคลื่อนย้าย หรือนำไปแข่งขันในต่างพื้นที่เป็นประจำ ความจำเป็นในการควบคุมโรคจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกรณีการเกิดโรคระบาดของสัตว์ปีก อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้ทิ้งเรื่องการฝังไมโครชิพ แต่จะต้องพัฒนาการฝังชิพไม่ให้ไก่ชนเกิดความรำคาญ ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการชนของไก่เปลี่ยนไปได้
กรมปศุสัตว์ได้กำหนดมาตาการเฝ้าระวังและ ควบคุมเคลื่อนย้าย เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ดังนี้
1. ผู้เลี้ยงไก่ชนทั้งที่เป็นลักษณะฟาร์มและไม่เป็นลักษณะฟาร์มต้องขึ้นทะเบียน กับกรมปศุสัตว์ ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพื้นที่ทุกจังหวัด
2. สัตวแพทย์สำนักงานปศุสุตว์จังหวัด จะดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างจากทุกฟาร์มหรือ ทุกบ้านที่มีการเลี้ยงไก่ชนเป็นประจำทุก ๒ เดือน เพื่อตรวจเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดสัตว์ปีก ซึ่งการดำเนินการเฝ้าระวังเช่นนี้จะดำเนินการกับการเลี้ยงสัตว์ปีกทุกประเภท ไม่เฉพาะการเลี้ยงไก่ชน
3. ไก่ที่มีไว้เพื่อชน ต้องทำสมุดประจำตัวไก่ชน และต้องแสดงสมุดประจำตัวไก่ชน ต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ ในระหว่างทางการเคลื่อนย้าย หรือเมื่อเคลื่อนย้ายถึงปลายทาง เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ตรวจสอบแหล่งที่มาของไก่ชนว่ามีโรคระบาดหรือไม่ และเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้เลี้ยงไก่ชนในการลดขั้นตอนการขออนุญาต เคลื่อนย้าย นอกจากนี้การจัดทำสมุดประจำตัวไก่ชน ยังเป็นการเพิ่มมาตรฐานการเลี้ยงไก่ชนในประเทศไทยด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าไก่ชนทั้งภายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศได้มาก
สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านใน |
ขั้นตอนการจัดทำสมุดประจำตัวไก่ชน
1. ปศุสัตว์จังหวัด ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เลี้ยงไก่ชนทราบถึงรายละเอียด การจัดทำ สมุดประจำตัวไก่ชน รวมทั้งประโยชน์ที่ได้รับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)