วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

ยาเด็ด เคล็ดลับไก่

ตำรับยาสมุนไพรไก่ชน คุมธาตุ ช่วยย่อย แก้โรคกระเพาะไก่ชน

ขนานที่ 1
ส่วนผสมของตัวยาต่างๆ
ดีปลี หนัก 4 ส่วน
ชะพลู " 2 ส่วน
สะค้าน " 1 ส่วน
เหง้าขิงแห้ง " 4 ส่วน
กานพลู " 8 ส่วน
วิธีปรุงยา เอาตัวยาทั้งหมดมาบดให้ละเอียด แล้วเอามาคลุกเคล้า ผสมผสานกับน้ำผึ้งเดือน 5 หรือน้ำผึ้งแท้ ปั้นเป็นเม็ดลูกกลอนขนาดเท่าๆ กับเมล็ดในผลพุทราไทย ผึ่งเอาไว้ให้แห้ง เก็บเอาไว้ในขวด ปิดฝาแน่นสนิท เก็บเอาไว้ใช้ได้นานๆ

ขนาดรับประทาน ให้ไก่ชนกินครั้งละ 1 เม็ด ก่อนอาหารเช้าและอีก 1 เม็ดก่อนอาหารเย็น
สรรพคุณ คุมธาตุ ช่วยย่อย ทำให้ท้องไส้ดีอยู่เสมอ

ขนานที่ 2 ส่วนผสมของตัวยาต่างๆ
เถาหญ้านาง เถารางจืด แก่นขามแดง จันทน์แดง จันทน์ขาว เกสรทั้ง 5 เทียนทั้ง 5 หัวหญ้าแห้วหมู รากมะนาว รากขัดมอน รากมะกรูด รากมะปางหวาน รากหญ้าคา ใบมะเฟือง ใบเงิน หัวหญ้าชันกาด สมุนไพรเอามาอย่างละ 1 ส่วน น้ำผึ้ง
วิธีปรุงยา ทำเหมือนกับขนานที่ 1
ขนาดรับประทาน ให้ไก่กินเหมือนกับขนาดที่ 1
สรรพคุณ คุมธาตุ ช่วยย่อย แก้โรคกระเพาะของไก่ชนได้ดีมาก


ขนานที่ 3 ส่วนผสมของตัวยาต่างๆ กะเพราทั้ง 2 ว่านน้ำ กระพังโหม เถาสะค้าน กานพลู อบเชย เหง้าขิงแห้ง ผลมะตูมอ่อน น้ำผึ้ง เอามาอย่างละ 1 ส่วน
วิธีปรุงยา และ ขนาดรับประทาน เหมือนกันกับขนานที่ 1
สรรพคุณ แท้องอืด ท้องเฟ้อ คุมธาตุ ช่วยย่อยได้ดี ไก่ชนจะท้องไส้ดี ระบบการย่อยดีอยู่เสมอไป
สรรพคุณทางยาสมุนไพรขนานนี้ใช้กันมาแล้วอย่างช้านาน ไม่ว่าจะเป็นไก่ชน หรือเจ้าของไก่ก็ตามได้ผลทั้งนั้น เพียงแต่ว่าหากเป็นคนก็รับประทานเข้าไปก่อนอาหารครั้งละ 5-6 เม็ด

ขนานที่ 4 ส่วนผสมของตัวยาต่างๆ
เหง้าขิงแห้ง รากเจตมูลเพลิง รากชะพลู ดอกดีปลี เถาสะค้าน หัวกกลังกา หัวหญ้าแห้วหมู ผลมะตูมอ่อน เถาบอระเพ็ด ตรีผลา น้ำผึ้ง เอามาอย่างละ 1 ส่วน

วิธีปรุงยา และ ขนาดรับประทาน เหมือนกับขนานที่ 1
สรรพคุณ คุมธาตุ ช่วยย่อย เจริญอาหารดี ไก่ชนจะมีสุขภาพทาง ระบบทางเดินอาหารที่ดีอยู่เสมอ

ขนานที่ 5 ส่วนผสมของตัวยาต่างๆ
รากชะพลู รากเจตพังคี ดอกดีปลี รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง ผลมะตูมอ่อน ใบกระวาน เมล็ดพริกไทยอ่อน กานพลู การบูร เทียนทั้ง 5 น้ำผึ้ง เอามาอย่างละ 1 ส่วน


วิธีปรุงยา และ ขนาดรับประทาน เหมือนกันกับขนานที่ 1
สรรพคุณ คุมธาตุ ช่วยย่อย รักษาอาการโรคกระเพาะพิการ


สมุนไพร รักษาอาการหวัดของไก่ชน

ขนานที่ 1 ส่วนผสมของตัวยาต่างๆ
 ยาฉุน ดอกมะลิแห้ง ผิวมะกรูดตากแห้ง อย่างละ 1ส่วน และ พิมเสน การบูร อย่างละเล็กน้อย
การปรุงยา เอาตัวยามารวมเข้าด้วยกัน บดให้ละเอียดเป็นผงเก็บเอาไว้ในขวด ปิดฝาแน่น เก็บเอาไว้ใช้ได้นานๆ
ขนาดการใช้ เอามาใส่ในสำลี ให้ไก่ดม สูดเอาไอระเหยของตัวยาเข้าไป โดยเอาอังไว้ตรงจมูกไก่พอประมาณ วันละหลายๆครั้ง
สรรพคุณ รักษาอาการเป็นหวัดของไก่ได้ดีมาก นอกจากไก่จะใช้ได้ดีแล้ว คนเราก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน

ขนานที่ 2 ส่วนผสมของตัวยาต่างๆ
หัวหอมแดง ใบมะขาม ใบส้มป่อย ขมิ้นผง ดินสอพอง พิมเสน เอามาอย่างละ 1 ส่วน

การปรุงยา ขนาดการใช้ สรรพคุณ เหมือนกันกับขนานที่ 1





สมุนไพร สำหรับให้น้ำไก่ชน
สูตรที่ 1

ผสมของตัวยาต่างๆ
ใบขนานใหญ่ ( รวมกิ่งก้านสับ ) 100 กรัม
ใบส้มป่อย 200 กรัม
ต้นตะไคร้(ทุบสับท่อนสั้นๆ) 200 กรัม
ไพล (ทุบพอแตก ) 100 กรัม

ใบมะกรูด 100 กรัม


วิธีการปรุงยา เอาตัวยาสมุนไพรทั้งหมดมาล้าง แล้วจึงเอามาทุบ ตัด สับ เป็นชิ้นเล็กๆ เอาใส่ลงไปในหม้อดินเทน้ำใส่ท่วมพอประมาณ (ไม่ควรเอาหม้ออลูมิเนียมต้ม เพราะตัวยาสมุนไพรอาจจะกัดให้อลูมิ
สูตรที่ 2
เนียมละลายออกมาเป็นอันตรายกับไก่ได้ )ต้ม เคี่ยว ให้เดือดอ่อนๆ เป็นเวลานานประมาณ 15 นาทีก็พอ ปล่อยให้เย็นพออุ่นๆก็เอามาใช้ได้ ด้วยการเอาผ้านุ่มๆมาชุบน้ำยาสมุนไพร บีบพอหมาดๆ เช็ดไปตามเนื้อ หนัง เส้นขนของไก่ชน เพื่อกระตุ้นให้เลือดลมเดินไปทั่วร่างกาย ไก่จะสบายตัวขึ้นทันที การเช็ดต้องเช็ดให้ทั่วถึงกันดี ด้วยการเช็ดไปเรื่อยๆ ไล่ไปจนทั่วทั้งปีก ซอกปีก หน้าอก ปั้นขา ก้น หลัง คอ แข้ง ขา อุ้งเท้า จากนั้นก็ปล่อยให้ไก่จัดการกับตัวเขาเอง ถ้าต้องการให้ขนแห้งไวๆ เอาผ้าขนหนูช่วยซับ ช่วยเช็ดก็ได้ เช็ดเพียงเบาๆไปตามแนวขน อย่าเช็ดย้อนกลับขึ้นมาเด็ดขาด จะเกิดการเจ็บปวดได้

ส่วนผสมของตัวยาต่างๆ
เปลือกต้นขี้หนอน 200 กรัม
ใบส้มป่อย 200 กรัม
ขมิ้นชัน 100 กรัม
ใบมะกรูด 100 กรัม
วิธีปรุงยา ทำเหมือนกันกับขนานที่ 1


สูตรที่ 3
ส่วนผสมของตัวยาต่างๆ
ใบหมากผู้ หมากเมียสด 200 กรัม
ใบส้มโอสด 100 กรัม
ใบมะขามสด 100 กรัม
ไพลสด 200 กรัม 
วิธีการปรุงยา ทำเหมือนกับขนานที่ 1

ใบส้มโอสดๆนั้น เอามาจากต้น จะได้กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยที่ดีสร้างความสดชื่นได้ทั้งไก่และคนเรา คนโบราณนั้นเอามาต้มน้ำอาบ โดยเฉพาะให้สตรีหลังคลอดอาบชำระล้างร่างกาย สบายเนื้อ สบายตัวดีมาก รักษาความสะอาดได้ดีกว่าการอาบน้ำตามปกติธรรมดามาก มายนัก ใบหมากผู้หมากเมียก็เช่นเดียวกัน มีสารบางอย่างอยู่ที่ใบ สามารถขจัดอาการผื่นคัน รักษาผิวหนังได้ดี สด
ชื่นเกลี้ยงเกลาดี ฆ่าเชื้อรา เชื้อโรคที่ผิวหนัง ใบมะขามสด ไพลสด
 นี่ก็เป็นสมุนไพรที่ดีมาก ใบมะขามมีกรดอ่อนๆอยู่แล้ว สร้างความสดชื่นแก่ผิวหนัง ได้ดีมาก ไพลก็มีน้ำมันหอมระเหยที่ยอดเยี่ยม ทำให้ผิวหนังมีความสดชื่นขึ้นมาอย่างมาก ผดผื่นคันก็หาย ทำให้ผิวหนังเกลี้ยงเกลา สะอาดสดชื่นเสมอ

 แหล่งที่มา : ไก่ชนดอทคอม
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต





วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพร ไก่เด็ด

ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า แตงกวา น้ำผึ้ง

 
กล้วยน้ำว้า,แตงกวา, น้ำผึ้ง, สามอย่างนี้มีผลอย่างไร สำคัญไฉน
สรรพคุณ
เป็นทั้งอาหารและยารักษาโรค หลายๆโรคนั้น บางอย่างให้ทั้งคุณและโทษถ้าใช้ผิดทางหรือถูกวิธี กล้วยน้ำว้าสุกเหมาะกับการเป็นอาหารทั้งคนและสัตว์ รับประทานผลสุก กล้วยเป็นอาหารเสริมชั้นดี กินแล้วทำให้ชุ่มคอ ชื่นใจ กินเป็นประจำเป็นยาบำรุงกำลัง และยาอายุวัฒนะ ถ้าเป็นผลดิบๆ จะเป็นยารักษาโรคท้องผูก ท้องเสีย ท้องร่วง

วิธีทำ ให้เอาผลกล้วยดิบขนาดผลแก่ๆ ปอกเอาเปลือกออก ฝานเป็นชิ้นบางๆตากแดดให้แห้ง นำมาบดเป็นผงเก็บบรรจุขวดโหล รักษาให้ดีอย่าให้ชื้นหรือขึ้นรา เวลาเกิดอาการไม่สบาย เป็นไข้ เจ็บปวดในกระเพาะอาหารหรือเป็นโรคกระเพาะ ให้เอาผงกล้วยน้ำว้าบดผสมน้ำร้อนอุ่นๆ พอผงละลายดีแล้วให้ดื่มกินให้หมดแก้วทีเดียว วันละสองหน เช้า-ก่อนนอน ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ กินประจำสัก 2-3 วัน อาการเจ็บปวดก็จะบรรเทา เบาหายในที่สุด
กรณีของโรคไก่ชนไม่สบาย มีอาการท้องเสีย ขี้เขียว ขี้ขาว ท้องไส้อักเสบ ให้เอาผงกล้วยผสมกับน้ำอุ่นๆ พอเย็นนำไปหยอดให้ไก่กิน หรือวางไว้บริเวณที่อยู่อาศัยของไก่ ให้ไก่ได้รับประทานยากล้วยบดนั้น ไม่ช้าอาการที่ไม่สบายก็จะบรรเทา หายไปเอง ผลกล้วยน้ำว้าทั้งสุกและดิบ ถ้าใช้ถูกวิธีมีคุณอนันต์
สำหรับมือน้ำเลี้ยงไก่ชน ถือเป็นสิ่งคู่กัน อาวุธคู่กายขาดไม่ได้ จะต้องมีติดไว้เสมอ หรือเป็นอาหารหลักประจำวันก็ได้

แตงกวา ก็เป็นผลไม้อาหารเสริม อาหารที่ไก่ชอบ แตงกวาเป็นผลไม้ที่อุ้มน้ำ อิ่มน้ำ ให้พลังงานเมื่อได้รับประทานเข้าไป ในผลแตงกวามีสะสาร ฮอร์โมนชนิดหนึ่ง รับประทานแล้วจะทำให้มีความเอิบอิ่มผิวพรรณเต่งตึงขึ้น มีพลังขึ้น แข็งแรงขึ้น รับประทานเป็นประจำก่อนนอน เป็นยาอายุวัฒนะ ชะลอ ความแก่ให้ช้าลง ก่อนวัยอันควร
สรรพคุณอาหาร-ยา แตงกวาสด เป็นยาเย็น รสเย็น รับประทานแล้วไม่เป็นพิษเป็นภัย ความสดของแตงกวา นำมารักษาแผลหาย ทั้งไก่ชน และคนก็ได้ อาการแผลเป็นจะหายดีเป็นปกติ เหมือนเดิม เร็วขึ้น

น้ำผึ้งแท้ น้ำผึ้งมีสรรพคุณเป็นยาร้อน รสหอมหวาน ถ้าใช้ให้ถูกวิธีก็เป็นคุณประโยชน์ แต่ถ้าใช้ผิดทางก็เกิดโทษได้เหมือนกัน เช่น เวลาไก่ไม่สบาย มีอาการตัวร้อน ร้อนใน ขี้เขียว ขี้ขาว มีอาการไม่เป็นปกติในร่างกาย ถ้าเอายาสูตรผสมน้ำผึ้งให้ไก่กินมากๆ อาการก็ยิ่งทรุดหนัก ถ้าไก่ไม่สบายให้ใช้ยาเย็นเป็นยารักษาจะดีกว่า จะทำให้ไก่หายดีเร็วขึ้น

สรรพคุณทางยา ถ้าใช้ให้ถูกโรค ถูกประเภทของอาการ ให้ยารักษา เป็นไปตามกำหนดเวลาและก็ควรถือเป็นมาตรฐานตามแต่พอดี ทุกอย่างก็จะลงตัวความพอดีของมันเอง

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

ฟิตไก่ออกชน ซ้อม 9 วัน

การทำตัวและฟิตซ้อม 9 วัน

การเลี้ยงไก่ชนเป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่ง ไม่ใช่ว่าจะเลี้ยงสุ่มสี่สุมห้าแล้วนำไปชนในสนามได้ ซึ่งจะทำให้เจ้าของไก่เสียทั้งไก่ เสียทั้งเงินเสียทั้งเวลา ก่อนอื่นจะต้องเลือกไก่ชนจากเหล่าสายพันธุ์ที่ดี มีชันเชิง เฉลียวฉลาด อึดทน ปากไว ตีแม่น ลำโต แล้วนำมาทำตัวหรือฟิตซ้อมและบำรุงซุ้มไก่แต่ละซุ้มจะมีขั้นตอนและวิธีการเลี้ยงคล้ายๆกัน จะแตกต่างกันตรงที่การให้อาหารเสริม กับยาบำรุงและน้ำเลี้ยงขั้นตอนการออกกำลังกาย มีการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปอันนี้ก็แล้วแต่สูตรใครสูตรมัน ผมอยากจะแนะนำ สูตรหนึ่งที่เห็นว่าน่าจะได้ผลดี โดย คุณ ภานุพงษ์ ประภาพรพิทักษ์ ได้ลงไว้ที่หนังสือลีลาไก่ชน ชุด2 แม่ไม้ไก่เชิง หลังจากที่เราได้คัดไก่แล้ว ต้องทำการปล้ำให้ได้ประมาณ 10-15 อัน เพื่อดูแววของไก่และความเฉลียวฉลาดในการตีแล้วนำมาถ่ายพยาธิ เสร็จแล้วทำการฟิตซ้อม

วันที่1 ตอนเช้า วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ลงลูกประคบ ลงขมิ้น กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ลงลูกประคบ ลงขมิ้น กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย

วันที่2 ตอนเช้า วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ลงลูกประคบ ลงขมิ้น กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ลงลูกประคบ ลงขมิ้น กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย

วันที่3 ตอนเช้า วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ลงลูกประคบ ลงขมิ้น กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย

วันที่4 ตอนเช้า ล่อ โยนเบาะ กราดน้ำ ลงลูกประคบ ลงขมิ้น กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย

วันที่5 ตอนเช้า ล่อ โยนเบาะ กราดน้ำ ลงลูกประคบ ลงขมิ้น กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย ล่อ โยนเบาะ กราดน้ำ ลงลูกประคบ ลงขมิ้น กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย

วันที่6 ตอนเช้า ล่อ โยนเบาะ กราดน้ำ ลงลูกประคบ ลงขมิ้น กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย

วันที่7 ตอนเช้า ลงนวม กราดน้ำ ลงลูกประคบ กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่ม โยนเบาะ กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย



วันที่8 ตอนเช้า วิ่งสุ่มเบาๆ โยนเบาะน้อยลง ลงลูกประคบ กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่มเบาๆ โยนเบาะน้อยลง กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย วิ่งสุ่มเบาๆ โยนเบาะน้อยลง ลงลูกประคบ กราดแดด ตอนบ่าย วิ่งสุ่มเบาๆ โยนเบาะน้อยลง กราดน้ำ ปล่อยตาข่าย

วันที่9 ตอนเช้า กราดน้ำ กราดแดด ปล่อยตาข่าย ตอนบ่าย กราดน้ำ กราดแดด ปล่อยตาข่าย






ทั้งหมดนี้เป็นสูตร 9 วัน
หมายเหตุ แต่ถ้าไก่เป็นไก่เชิงให้ลดจำนวนครั้งในการโยนเบาะน้อยลงหรือครึ่งหนึ่ง( ปกติโยนเบาะรอบละ 100 ครั้ง แบ่งเป็นรอบเช้าและเย็นและลงลูกประคบให้บางๆ เพราะถ้าลงลูกประคบหนาจะทำให้เนื้อตัวตรึง)
ขั้นตอนในการออกกำลังกาย ขอให้ออกกำลังกำลังตั้งแต่เริ่มปล้ำจนถึงวันออกชนเมื่อทำครบตามขั้นตอนนี้แล้วจะทำให้ไก่ชนมีกำลังขากำลังปีกดีมีแรงอยู่ตัวดี

น้ำสำหรับอาบไก่มีดังนี้


1. ไพลประมาณ 5 แว่น 2. ใบตะไคร้หรือต้นตะไคร้ 3 ต้น 3. ใบส้มป่อยประมาณ 1 กำมือ
4. ใบมะกรูด 5 ใบ 5. ขมิ้นอ้อยหรือขมิ้นชัน
นำทั้งหมดมาใส่รวมกันในหม้อแล้วต้มให้เดือดทิ้งไว้พออุ่นๆแล้วค่อยอาบ


ยาบำรุงไก่ชน
1. ปลาช่อนตัวใหญ่ย่างไฟแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง 1 ตัว 
2. กระชายหัวแก่ๆ ประมาณ 2ขีด 
3. พริกไทย 20 เม็ด
4. กระเทียมแห้งพอประมาณ
5. บอระเพ็ดแห้ง 1 ขีด
6. หัวแห้วหมู 1 ขีด
7. ยาดำ พอประมาณ

** นำส่วนผสมทั้งหมดผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนเท่าข้อนิ้ว ให้กิน 1-2 เม็ด ก่อนนอนทุกวันจนถึงวันออกชน**


แหล่งที่มา : ไก่ชนดอทคอม
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

ไก่ชน เกมกีฬา หรือเกมทารุณ

หลายคนนึกสงสัยเรื่องการ ชนไก่ ว่าเป็นเรื่องที่ทรมานสัตว์ไหม ทารุณกรรมหรือเปล่า หลายคนก็หลายความคิด หลายแง่คิด อยู่ที่ความชอบและความเห็นส่วนตัว เอาเป็นว่าฟังไว้ก็ดี เป็นความรู้เป็นแง่คิดของแต่ล่ะคนค่ะ ไม่มีใครถูกใครผิดแล้วกันนะค่ะ...
 
ไก่ชน เกมกีฬา หรือ เกมทารุณ
บ้างว่า มันเป็น มรดก ทางวัฒนธรรม เป็นเอกลักษณ์ ประจำชาติ ที่ควรสืบทอด เป็นเกมกีฬา ให้ความบันเทิง เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นหนทางเดียว ในการอนุรักษ์ และพัฒนา สายพันธุ์ไก่พื้นเมือง ของไทย บ้างกลับเห็นว่า มันเป็น การหาความสุข บนความทุกข์ทรมาน ของผู้อื่น เป็นการ ทารุณสัตว์ และส่งเสริม การพนัน เป็นสงคราม ตัวแทน ของความ ดิบเถื่อน ในใจมนุษย์ เป็นสังเวียนเลือด เวทีนรก...


"การชนไก่" เป็นอย่างไร
.....ตอบแบบ กำปั้นทุบดิน การชนไก่ หรือ cockfighting ก็คือ การเอาไก่ตัวผู้ สองตัว มาชนกัน
ในสังเวียน ที่จัดขึ้น ไก่สองตัวนี้ นอกจากจะเป็น ไก่พื้นเมือง ที่มีสายพันธุ์ "ไก่ชน" (ไก่พื้นเมือง แบ่งออกเป็น สองประเภท ได้แก่ ไก่ ที่มี และไม่มีสายพันธุ์ ไก่ชน) เช่น ไก่เหลืองหางขาว ไก่ประดู่หางดำ ไก่เขียวเลา ไก่เทาทอง แล้ว ยังต้อง ผ่าน กระบวนการเลี้ยง เพื่อให้เป็น ไก่ชน โดยเฉพาะ อีกด้วย นั่นคือ เมื่ออายุได้ ๗ เดือน มันจะถูกนำมา ฝึกซ้อม หัดปล้ำกับ ไก่ รุ่นราว คราวเดียวกัน และได้ ออกกำลังกาย อยู่เสมอ โดยเจ้าของ จะนำ ไก่ อีกตัวหนึ่ง มาล่อ ให้มันโกรธ และวิ่งไล่กัน ประมาณ ๑๕ นาที ผ่านการ กราดน้ำ กราดแดด คือ เช็ดตัว ด้วยน้ำเย็น แล้วนำไป ตากแดดจัด เมื่อไก่หิวน้ำ จะยังไม่ให้กิน เพื่อสร้าง ความอดทน ให้ไก่ ถึงกระนั้น พวกมัน ก็จะได้รับ การประคบประหงม อย่างดี มีอาหารสมบูรณ์ ได้รับ การนวดตัว ด้วยสมุนไพร แถมยัง ได้นอนในมุ้ง
     นักเลี้ยงไก่ จะทำทุกวิถีทาง ทั้งในขั้นตอน การเลี้ยง และระหว่าง การชน เพื่อให้ไก่ของตน ชนะเพราะนั่นหมายถึง รายได้ก้อนโต จาก การพนัน ในบ่อนไก่ ซึ่งก็เหมือนกับ การพนันชนิดอื่น ที่ทำให้ คนเล่น กลายเป็น เศรษฐี หรือยาจก ได้ในพริบตา ในกรณีที่ เป็นไก่ชน พันธุ์แท้ บริสุทธิ์ และมี "ชั้นเชิง" ในการชนจริงๆ ยังอาจขายเป็น พ่อพันธุ์ไก่ชน ที่มีราคาสูงเหยียบแสน สร้างรายได้ ให้ผู้เลี้ยง อย่างงดงาม


การชนไก่ ระหว่าง พระมหาอุปราชา กับสมเด็จ พระนเรศวร มหาราช ในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ เมื่อครั้งที่ พระองค์ ตกเป็นเชลยของ พระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง และผลปรากฏว่า ไก่ชนของไทย ชนะ มักถูกนำมาอ้างถึง อยู่เสมอ เพื่อเป็นการยืนยันว่า การชนไก่ และการเลี้ยงไก่ชนนั้น เป็นกิจกรรม "คู่บ้านคู่เมือง"ของไทย ขั้นตอน เคล็ดลับ การเลี้ยง การดูลักษณะ ไก่ชน และชั้นเชิง การชน ก็เป็นสิ่งที่ บรรพบุรุษ นักเลี้ยงไก่ชน คิดค้น สั่งสม และสืบทอดกันมา ตลอดระยะเวลา หลายร้อยปี
     อย่างเช่น ที่ใน "ตำราไก่เก่ง" บอกไว้ว่า ไก่ชนลักษณะดี ต้องมี "ปากงุ้ม เหมือนเหยี่ยว เป็นร่องหนา แข็งแรง ตารูปตัววี คิ้วหนา หงอนหินบางกลางสูง คอยาวใหญ่ ลำตัวยาว ๒ ท่อน เนื้อเต็มทั้งหน้าอก และบั้นท้าย บั้นขาใหญ่ แข้งอิ่มกลม มีหมอนรองแข้ง มีเสือซ่อนเล็บ มีเหน็บชั้นใน... หางพันเจ็ด
 ปีกสิบเอ็ด เกล็ดยี่สิบสอง..." ส่วนชั้นเชิง ในการชนนั้น ก็สรุปสั้นๆ ง่ายๆ ว่า

.....การชนไก่ ระหว่าง พระมหาอุปราชา กับสมเด็จ พระนเรศวร มหาราช ในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ เมื่อครั้งที่ พระองค์ ตกเป็นเชลยของ พระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง และผลปรากฏว่า ไก่ชนของไทย ชนะ มักถูกนำมาอ้างถึง อยู่เสมอ เพื่อเป็นการยืนยันว่า การชนไก่ และการเลี้ยงไก่ชนนั้น เป็นกิจกรรม "คู่บ้านคู่เมือง" ของไทย ขั้นตอน เคล็ดลับ การเลี้ยง การดูลักษณะ ไก่ชน และชั้นเชิง การชน ก็เป็นสิ่งที่ บรรพบุรุษ นักเลี้ยงไก่ชน คิดค้น สั่งสม และสืบทอดกันมา ตลอดระยะเวลา หลายร้อยปี

.....อย่างเช่น ที่ใน "ตำราไก่เก่ง" บอกไว้ว่า ไก่ชนลักษณะดี ต้องมี "ปากงุ้ม เหมือนเหยี่ยว เป็นร่องหนา แข็งแรง ตารูปตัววี คิ้วหนา หงอนหินบางกลางสูง คอยาวใหญ่ ลำตัวยาว ๒ ท่อน เนื้อเต็มทั้งหน้าอก และบั้นท้าย บั้นขาใหญ่ แข้งอิ่มกลม มีหมอนรองแข้ง มีเสือซ่อนเล็บ มีเหน็บชั้นใน... หางพันเจ็ด ปีกสิบเอ็ด เกล็ดยี่สิบสอง..." ส่วนชั้นเชิง ในการชนนั้น ก็สรุปสั้นๆ ง่ายๆ ว่า ต้อง "ปากไว ชนดี ตีแม่น"นักวิชาการ ด้านไก่พื้นเมือง ให้ข้อมูลว่า มีไก่ชน น้อยตัวนัก ที่มีคุณสมบัติ ดีพอจะนำไป แข่งขันชนไก่ได้
"ถ้าเลี้ยงไว้ ๑๐๐ ตัว สามารถ นำไปชนได้ ๕ ตัว ก็นับว่า โชคดีแล้ว อีก ๙๕ ตัว มักจะเหมาะกับ การนำไปขาย เป็นไก่เนื้อ มากกว่า"
     ส่วนหนทาง สู่การเอาชนะ ในสังเวียน ที่น่าสนใจอยู่ในตอน "ให้น้ำ" ระหว่างอัน ("อัน" ในภาษาไก่ชน หมายถึง "ยก") เจ้าของ จะเอาผ้านุ่มๆ ชุบน้ำเย็น ผสมสมุนไพร เช่น ใบตะไคร้ หรือยอดผักบุ้ง ตำผสมน้ำตาล เช็ดหัว หน้าอก และแข้งขา ให้ไก่สดชื่น จากนั้น จะใช้ผ้า หรือกระเบื้อง ที่อังไฟจนร้อน แตะ ไพลกับขมิ้น หรือปูนแดง นวดกล้ามเนื้อ และประคบบาดแผล

.....แต่ไม่มีใครรู้ว่า การดีดข้าวเปลือก อาบยาฆ่าแมลง หรือยาพิษ ลงไปใน สังเวียน หรือป้ายไว้ที่ เดือยไก่ เพื่อทำร้าย ไก่ ของฝ่ายตรงข้ามนั้น เป็น "ภูมิปัญญา" ที่สั่งสมมา หรือเพิ่งเกิดขึ้น ในยุคหลัง ที่นักเลงไก่ชน จริงจังกับ ชัยชนะ และเงินเดิมพัน มากขึ้น

.....มีรายงานว่า คนเล่นไก่ชน ในบางประเทศ ถึงกับ แอบเอา ของมีคม ติดไว้ที่เดือยไก่ หรือฝนเดือยไก่ ให้แหลมคม ราวใบมีด รวมทั้ง ให้สารกระตุ้นพวก แอมเฟตามีน หรือคาเฟอีน เพื่อให้ไก่คึก ดุร้าย และทนทาน กว่าปรกติ

.....สำหรับอาการบาดเจ็บของไก่ มักเกิดจาก ถูกจิก หรือแทง จากเดือย ของคู่ต่อสู้ เจ้าของ จะเย็บบาดแผล ช่วงให้น้ำ หากว่าถูกตี จนตาปิด จะเย็บรั้งหนังตาไว้ เพื่อให้ไก่มองเห็น ในยกถัดไป หรือถ้าตาแตก ก็จะเย็บปิดลูกตาไว้ ชั่วคราว
.....โดยทั่วไป การชนไก่ของไทย มีตั้งแต่ ๖-๑๒ ยก ยกละ ประมาณ ๒๐ นาที ไก่จะแพ้ชนะกัน ตรงที่ ตัวใดตัวหนึ่ง ตาย วิ่งหนี ไม่ยอมตี หรือบาดเจ็บมาก จนเจ้าของ ขอยอมแพ้เอง
.....สมัยก่อน ชาวบ้าน จะจัดการชนไก่ กันอาทิตย์ เว้นอาทิตย์ และงดการชนไก่ ในวันพระช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาล ได้เข้ามา แทรกแซง การชนไก่ ของชาวบ้าน เนื่องจาก เห็นว่า เป็นกิจกรรมที่ "ไม่บรรลุ ความเป็นอารยะ" อีกทั้ง ในระยะหลัง ยังเล่นเป็นการพนัน อย่างหนัก จึงออกกฎหมาย ควบคุม การชนไก่ การเปิดบ่อนไก่ ต้องได้รับ ใบอนุญาต และเสียค่าธรรมเนียม แก่ทางการ
พ.ศ. ๒๕๒๗ กระทรวงมหาดไทย ออกประกาศ ห้ามสืบทอด หรือโอนใบอนุญาต การเปิดบ่อนไก่ชน แต่ให้หมดไป ตามอายุขัย ของผู้ได้รับอนุญาต กล่าวอีกอย่างว่า บ่อนไก่ จะตายไปพร้อมๆ กับ เจ้าของบ่อน.....สิบกว่าปีต่อมา การชนไก่ ก้าวล่วงจาก การเป็นเรื่อง ระหว่างรัฐ กับชาวบ้าน ในแวดวงไก่ชน มาเป็นเรื่องของ ประชาสังคม อย่างแท้จริง ต้นเหตุมาจาก นโยบาย การเปิดบ่อนไก่เสรี ของ เสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการ กระทรวง มหาดไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นโยบายนี้ จะทำให้ การชนไก่ เป็นเรื่อง ไม่ผิดกฎหมาย และไม่ต้อง ถูกควบคุม อีกต่อไปเหตุผลสนับสนุน การมี และไม่มี การชนไก่ ถูกนำมาตอบโต้ กันอย่างเผ็ดร้อน ในช่วงนี้
     ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า เราจำเป็นต้อง อนุรักษ์ และพัฒนาสายพันธุ์ "ไก่ชน" ซึ่งเป็น สัตว์พื้นเมือง ที่ค่อยๆ ลดจำนวน และคุณภาพลง เอาไว้ และ การชนไก่ ก็เป็นหนทางเดียว ในการอนุรักษ์ไก่ชนไว้ เนื่องจาก ผู้เลี้ยง จะคัดเลือก และผสมพันธุ์ อย่างเข้มงวด เพื่อให้ได้ ไก่ชนพันธุ์แท้ บริสุทธิ์ นักวิชาการ ด้านการเกษตร บางคน ถึงกับกล่าวว่า

       "คนเล่นไก่ชน คือกลุ่มที่ อนุรักษ์ให้ไก่พื้นเมือง ของไทย ดำรงอยู่ มาจนทุกวันนี้ ถ้าไม่มี นักเลี้ยงไก่ชน ไก่พื้นเมือง สูญพันธุ์ จากเมืองไทย ไปนานแล้ว" และ "หากต้องการได้ ไก่ สายพันธุ์ดีๆ ก็หนีไม่พ้น การชนไก่" อีกฝ่ายหนึ่ง ประกาศว่า ไม่ได้คัดค้าน การอนุรักษ์ หรือส่งเสริม การเลี้ยงไก่ชน หากแต่ ไม่เห็นด้วย กับการชนไก่ เนื่องจาก เป็นกิจกรรมที่ ทรมานสัตว์ และไม่สามารถ แยกออกจาก การพนันได้ ถ้าผู้เกี่ยวข้องจริงจัง และจริงใจ ในการอนุรักษ์ พันธุ์ไก่พื้นเมือง ย่อมต้องมี ทางเลือกอื่น

....."ความเสื่อมคลาย ของความนิยม ในการเพาะเลี้ยง และคัดเลือก สายพันธุ์ไก่ชน ของชาวบ้านไทยนั้น ไม่ได้เป็นผลมาจาก การที่ การพนันชนไก่ ไม่เฟื่องฟู แต่เป็นผลมาจาก การล่มสลายของ วิธีการเลี้ยงไก่ แบบพื้นเมือง ซึ่งถูกแทนที่ด้วย วิธีการเลี้ยงไก่สมัยใหม่ แบบฟาร์ม" (ผู้จัดการ, ๑ เมษายน ๒๕๔๐)

.....ปีเดียวกันนั้น สวนดุสิตโพล สำรวจประชามติ ประชาชน ในกรุงเทพ ฯ และต่างจังหวัด จำนวนกว่า ๒,๐๐๐ คน ผลปรากฏว่า ๖๙ เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นด้วย กับการ แยกการชนไก่ ออกจาก การควบคุมของ พ.ร.บ. การพนัน ๘๙ เปอร์เซ็นต์ เห็นว่า เป็นการทรมานสัตว์ ๕๗ เปอร์เซ็นต์ เห็นว่า ไม่จำเป็น ต้องอนุรักษ์กิจกรรมนี้ไว้

.....ล่าสุด -- กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ที่จังหวัดชลบุรี สมาคมอนุรักษ์ และพัฒนา ไก่พื้นเมืองไทย ได้จัด "การแข่งขัน กีฬาชนไก่สมัครเล่น สายพันธุ์นานาชาติ ครั้งที่ ๑" ขึ้น โดยมี ผู้เข้าร่วม หลายพันคน ไก่ที่นำมาชน มีนับร้อยตัว ทั้งจาก จีน ญี่ปุ่น บรูไน พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ

.....ผู้จัด ประชาสัมพันธ์ว่า งานนี้ ไม่มีการพนัน อย่างเด็ดขาด และกำหนด กติกาใหม่ เพื่อให้ไก่ บาดเจ็บน้อยลง เช่น สวมนวม ที่เดือยไก่, แข่งขันเพียง ๕ ยก ยกละ ๑๕ นาที พัก ๓ นาที ไม่มีการถ่างตา และเย็บแผล ระหว่างพักยก, ห้ามใช้น้ำมันหม่อง สารเคมี และยาโด๊ป, หากปากหลุด ปากถอด ตาปิด หรือมีเลือดวิ่งเข้าตา และบาดแผล นายสนาม สั่งยุติ การแข่งขัน ทันทีที่เห็นว่า ไก่บาดเจ็บมาก เป็นต้น

.....ด้านสมาคม ป้องกันการทารุณสัตว์ ยืนยันว่า ถึงอย่างไร ก็ต้องยกเลิก กิจกรรมนี้ โดยเด็ดขาดเพราะ "ไม่ว่าจะทารุณมาก หรือน้อย ก็เป็นการทารุณ"

.....ข้อถกเถียงว่า การชนไก่ ควรจะ "อยู่" หรือ "ไป" ไม่ได้เกิดเฉพาะ ในเมืองไทย เท่านั้น นี่เป็นประเด็น ที่มีการพูดถึง กันอย่างกว้างขวาง เพราะประเทศอื่นๆ ก็มีการชนไก่ เหมือนกัน เคยมี การสำรวจ ความคิดเห็น ของประชาชน ในรัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา ปรากฏว่า ๙๕ เปอร์เซ็นต์ เห็นว่า การชนไก่ เป็นกิจกรรมที่โหดร้าย ป่าเถื่อน ๗๐ เปอร์เซ็นต์ คิดว่า มันเป็นวัฒนธรรม ไม่จำเป็นต้องสืบทอด

.....ปัจจุบัน การชนไก่ ถูกประกาศให้เป็น กิจกรรมต้องห้าม และผิดกฎหมายใน ๙ ประเทศ กับอีก ๒๐ เมืองทั่วโลก

บทความ : ไม่ทราบแหล่งที่มา


ไก่เด็ดของพ่อ

สวัสดีค่ะ ท่านผู้ติดตามบล็อก Poo nita farm บล็อกนี้จะนำเรื่องราวของไก่ชน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบไก่พันธุ์พื้นเมือง ไก่ชน และเคล็ดลับอื่นๆ ที่ได้มาจากพ่อ มาเล่าต่ออีกที เพราะที่บ้านเลี้ยงไก่เยอะพอสมควร เห็นกันมาตั้งแต่เด็กๆ แต่ไม่มีโอกาสได้นำมาเผยแพร่ และเราก็ไม่ได้ทำถึงขนาดมืออาชีพ แต่พ่อทำเป็นงานอดิเรก เพราะพ่อชอบไก่มากๆ รวมทั้งพี่ชายเจ้าของบล็อกด้วย เห็นการเลี้ยงการให้น้ำ การซ้อม และจะเล่าแบบเรื่องไก่ๆ ที่ไม่ธรรมดา และทำไมคนถึงชื่นชอบกันมาก มาดูไก่ที่บ้านกันก่อนค่ะ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง มีลักษณะไหนบ้าง


สีสันไก่พันธุ์ดี

1. ประดู่หางดำ มีลักษณะเด่นที่สังเกตได้ดังนี้

ปาก สีดำ ( ห้ามปากแดงหรือขาว ) ปากจะต้องอูมใหญ่ โคนปากใหญ่คล้ายนกแก้ว ปากบนจะมีร่องน้ำ 2 ข้างระหว่างร่องน้ำจะเป็นสันราง
ตา ตาขาวหรือตาสีน้ำข้าว หรือตาที่นักเลงไก่เรียกว่า ตาปลาหมอตาย
หงอน เป็นหงอนหิน จะไม่มีจักเลย
สร้อยคอ สีประดู่ยาวประบ่า
ปีก จะใหญ่และยาว
สร้อยปีก สีประดู่ ระย้าประก้น
ขนลำตัว ปีกและหางพัด มีสีดำ
หางกะลวย สีดำ
แข้ง เล็ก เดือย ทุกอย่างสีดำ
ตัวผู้กับตัวเมียไม่เหมือนกัน มีแตกต่างกันที่ตัวเมียไม่มีสร้อย ประดู่ดำ ปากดำ แข้งดำ ตาดำ (ถ้าหนังดำเรียก แสมดำ) ถ้าเป็นสีประดู่อ่อนๆ และมีสีออกไปทางแดง เรียกว่าประดู่แดง ถ้าตั้งแต่โคนขนจนถึงกลางของขนสร้อยคอสร้อยหลังเป็นสีขาวต่อจากนั้นจึงเป็นสีประดู่ โดยอาจมองเห็นสีขาวได้เลย หรืออาจต้องเปิดขนจึงจะเห็น สีขาว หรือขนสร้อยบางเส้นอาจเป็นสีขาวทั้งเส้น เรียก ประดู่เลา ไก่ประดู่เลา ประดู่แดง ต้องมีหางขาวจึงจะสวย ถ้าตรงกลางสร้อยคอ สร้อยหลังเป็นสีเขียว แต่ตรง ขอบของขนและตรงปลายขนเป็นสีประดู่ เรียกเขียวประดู่ หรือประดู่เขียว



2. เหลืองหางขาว มีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้

สี ออกเหมือนดอกโสน ขาวอมแดง ขาวอมเหลือง
ปาก ปากใหญ่ขาว คือ ปากสีขาวอมเหลืองหรือสีงาช้าง ปากยาวอวบใหญ่คล้ายกับปากนกแก้ว มีร่องน้ำเห็นได้อย่างชัดเจน ตรงกลางนูนเป็นสันราง
ตา ตาขาวจะมีเส้นสีแดงๆ เรียกว่าตาเพชร ตาเป็นลักษณะตาเหยี่ยว หัวตาแหลม ตาดำคว่ำ เล็กหรี่ รอบตาดำสีขาวอมเหลือง
หาง ขนหางกระรวยมีสีขาว พุ่งออกยาวมองเห็นได้เด่นชัด ถ้ายิ่งขาวและยาวมากๆ จะดีมาก ขนหางควรพุ่งตรงและยาว ปลายหางโค้งตกลงเพียงเล็กน้อย
ขาแข้งและเดือย มีสีขาวอมเหลือง เป็นสีเดียวกับปาก เกล็ดมีลักษณะแข็งและหนาแน่นเรียบ เดือยใหญ่แข็งแรง นิ้วยาว เล็บสีขาวอมเหลืองทุกเล็บ ไม่มีสีอื่นๆปนเลย หงอน ด้านบนของหงอนจะบาง เรียบ ปลายหงอนยาวเลยตา โคนหงอนที่ติดกับหนังศรีษะหนาแน่น อาจมีลักษณะเป็นหงอนแจ้ หงอนหิน หงอนบายศรี
ตุ้มหู จะมีสีแดงสีเดียวกับหงอน ไม่มีสีขาวเลย ตุ้มหูมีขนาดเล็ก รัดรับกับใบหน้า ไม่หย่อนยาน
เหนียง เล็ก รัดติดกับคาง ไม่ยานหรือไม่มีเหนียง
รูปหน้า เล็ก แหลม ยาว มีเนื้อแน่น ผิวหน้าเรียบเป็นมัน กะโหลกศรีษะหนาและยาว
อก อกไก่จะแน่นกลม มีเนื้อเต็ม กระดูกอกหนา ยาว และตรง
หลัง เป็นแผ่นกว้าง มีกล้ามเนื้อมาก มองดูแล้วเรียบตรง ไม่โค้งนูน
ไหล่ ตั้ง ยกตรง มีความกว้างพอสมควร
คอ ยาว ใหญ่ กระดูกข้อถี่
ปั้นขา จะใหญ่แข็งแรง มีเนื้อมาก กล้ามเนื้อแน่น
สร้อยคอ เหลือง หรือเหลืองแกมส้ม สร้อยคอยาวต่อกับสร้อยหลัง
สร้อยหลัง เป็นสีเดียวกับสร้อยคอ ควรเรียงกันเต็มแผ่นหลัง เริ่มตั้งแต่โคนคอจนถึงโคนหาง เส้นขนละเอียดยาวเป็นระย้า
สร้อยปีก สีเดียวกับสร้อยคอ เรียงกันแน่นเต็มบริเวณหัวปีกจนถึงปีกชัย มองดูเป็นแผ่น

3. สีเขียว หรือ เขียวเลา ลักษณะโดดเด่นโดยส่วนรวมก็คือ มีสีขาวปนนิดๆ คล้ายประดู่เลา เช่น ปาก กกปาก แข้ง เรียกว่าเขียวเลา
สีตัว ดำอมเขียว หรือน้ำเงิน
สร้อย โคนสร้อยขาว ปลายสร้อยเขียว
ขนปีก สีขาวปนดำ เช่น ขนขาวเป็นบางส่วน ขาวทั้งเส้น ดำทั้งเส้น แต่ควรจะขาวสลับดำ
หางกระรวย ขาว อาจจะมีสีขนสีขาวสัก 3-5 เส้น
เดือย ใหญ่
ท้อง แข็ง
ส่วนไก่ตัวไหนที่มีขนตามตัวสีดำ สร้อยคอเขียว สร้อยหลังเขียว ปากขาว แข้งขาว หางขาว เรียก เขียวพาลี ถ้าขนตามลำตัวดำ สร้อยหลังเขียว สร้อยคอเขียว แต่ที่ขอบตอนปลายของสร้อยคอมีสีเหลืองทอง เรียก เขียวสร้อยทอง

4. สีกรด มีลักษณะเหมือนสีนกกรด คือ สีจะออกแดง ปีกแดง ลำตัวจะออกสีโกโก้ ปากขาวใหญ่ หางขาวต้องเป็นสีขาวสนิท ถ้าก้านหางแดง หางต้องดำสนิท ไม่มีขาวปน






5. สีเทา ลักษณะโดดเด่น ที่สังเกตได้ คือ ขนตามตัวเป็นสีเทา อาจเข้มเกือบดำ หรือเทาจางๆเกือบขาว สร้อยคอ สีเทา หรือ อาจจะเป็นสีเดียวกันกับสีตัว แต่อาจจะเข้มกว่า หรือจางกว่าสีตัวก็ได้ ขนปีก ตามปกติจะเป็นสีเทา หรืออาจเป็นสีเดียวกับตัว แต่อาจเข้มกว่า หรือจางกว่าสีตัวก็ได้ ขนหาง สีเทา อาจเป็นสีเดียวกับตัว หรืออาจเป็นสีเข้มเกือบดำ หรือดำสนิท หรือสีจางเกือบขาว หรือขาวก็เคยพบ ถ้าสร้อยหลังสีเหลืองเรียกเทาทอง หรือสร้อยหลัง สีประดู่ สาปปีกสีประดู่เรียกเทาประดู่ สร้อยหลังสีประดู่แดงหรือทับทิม สาปปีกออกสีทับทิมแดงเข้มเรียกเทาแดง ,เทาทองแดง ถ้าสร้อยหลังมีสีเขียวเข้มหรือเขียวๆ เทาๆเรียกเทาดำ





6. สีลาย สีออกลายเหมือนนกกาเหว่า แต่ต้องเป็นลายปนเหลือง ปากขาวหนาใหญ่ หางขาวไม่มีปนดำ แข้งขาวปนเหลือง เดือยใหญ่


7. สีดำ ไก่สีดำหมายถึงไก่ที่ไม่มีสีอะไรมาเจือปน สีต้องดำสนิท ปากใหญ่หนาดำสนิท ตาแดงเหมือนเหยี่ยว หรือเหมือนนกกรด หางดำไม่มีขาวปน เดือยใหญ่และดำ แข้งดำแข้งไม่เขียว





8. ด่างน้ำดอกไม้ หรือไก่ด่าง สีออกเหลืองปนขาวเป็นจุด หรือมีสีดำแซม สร้อย สีเหลืองปนขาว ขนปีก สีขาวสลับกับดำ สีตัว สีขาวสลับดำ หางกระรวย สีขาวสลับดำ สีหาง สีขาวสนิท หางพัด สีขาวสลับดำ แข้ง ขาวปนเหลือง เล็บ ขาว หรือขาวสลับดำ ปาก สีขาวเหลือง เดือย ใหญ่




แหล่งที่มา : ไก่ชนดอทคอม
ภาพ : จากอินเน็ต